หน้าหลัก      Doctor of Education Program

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย): หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ):   Doctor of Education (Educational Administration)

ความเป็นมาของหลักสูตร

มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย (CCT) มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาผู้นำสภาคริสตจักรในประเทศไทย สมัยสามัญ ครั้งที่ 1/2020 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 มติที่ กกผน. 001/2020
มอบหมายให้มหาวิทยาลัยพายัพและมหาวิทยาลัยคริสเตียนเป็นผู้จัดทำหลักสูตรปริญญาโทด้านการบริหารการศึกษาพร้อมเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมดเพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2563 คณะกรรมการที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพมอบหมายให้คณะทำงานเฉพาะกิจ (AD HOC) พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโท-เอก และให้นำเสนอหลักการต่อสภามหาวิทยาลัยพายัพเพื่อพิจารณาต่อไป

ปรัชญาของหลักสูตร

ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาต้องมีความสามารถพัฒนาองค์ความรู้
มีจิตบริการ คุณธรรม จริยธรรมและภาวะผู้นำ
สามารถบูรณาการศาสตร์เทคโนโลยีดิจิตัลเพื่อสร้างตนสู่การเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. หลักสูตรเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะ ดังนี้
  • มีความรอบรู้ศาสตร์ทางการบริหารอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้งและมีขีดความสามารถสูงในการบริหารการศึกษาและการวิจัยด้านการบริหารการศึกษา ตลอดจนนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • มีความเป็นผู้นำในการบริหารการศึกษาและการวิจัยด้านการบริหารการศึกษาในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่โดยพัฒนาแนวคิดในการวิเคราะห์และการวิจัยเพื่อแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ ไปใช้พัฒนาการบริหารการศึกษาให้สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงบริบทของการบริหารการศึกษา
  • มีทักษะในการบริหารอย่างมีวิสัยทัศน์และสร้างสรรค์ สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลตลอดจนสามารถต่อยอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา
  • มีความสามารถสื่อสารและใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับกลุ่มบุคคล ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา
2. หลักสูตรมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่และ/หรือนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาให้มีพลังในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

จุดเด่นของหลักสูตร
  • สร้างผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ และมีจิตบริการ
  • เชี่ยวชาญทางวิชาการด้านการบริหารการศึกษา และจัดการการศึกษาอย่างเหมาะสมกับบริบทในศตวรรษที่ 21
  • มีอาจารย์เชียวชาญพิเศษเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ด้านการบริหารการศึกษาเป็นอาจารย์พิเศษตลอดหลักสูตร
  • มีอาจารย์ที่มีความเชียวชาญและประสบการณ์ในการดูแลให้คำปรึกษา ด้านวิชาการ การวิจัย เพื่อพัฒนาวิทยฐานะ
  • เมื่อสำเร็จการศึกษามีคุณวุฒิที่ตรงตามคุณสมบัติที่คุรุสภากำหนดในการขอรับใบประกอบวิชาชีพฯ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์
  2. อาจารย์ ดร. จรัญญา เทพพรบัญชากิจ
  3. อาจารย์ ดร. ประภัสสร สมสถาน

อาจารย์พิเศษ
1. ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ รุจเจริญ  
2. ศาสตราจารย์ ดร. พฤทธิ์ ศริบรรณพิทัก  
3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อนุรักษ์ ปัญญนุวัฒน์ ประธานวิชาการ และกรรมการสภามหาวิทยาลัยพายัพ
4. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สมาน อัศวภูมิ  
5. รองศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ นพรัตน์ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
6. รองศาสตราจารย์ ดร. จิณณวัตร ปะโคทัง นายกสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย
7. รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยา ภาวะบุตร ประธานสภาคณบดีคณะคุรุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
8. อาจารย์ ดร. พรรณี  สุวัตถี  

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
  1. หลักสูตรแบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
  2. หลักสูตรแบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาเอกตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558


ภาษาที่ใช้

หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา แบบ 1.1 แบบ 2.1
(1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
(2) หมวดวิชาบังคับ - 18
(3) หมวดวิชาเลือก - 6
(4) ดุษฎีนิพนธ์ 60 36
รวม 60 60